นาฏศิลป์พื้นเมือง


นาฏศิลป์พื้นเมือง

ความหมายของนาฏศิลป์พื้นเมือง

          นาฏศิลป์พื้นเมือง หมายถึง ศิลปะการแสดงร่ายรำประกอบดนตรี ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อนต่าง ๆ ที่นิยมเล่นกัน หรือ แสดงกันในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะสภาพแวดล้อม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา อุปนิสัย และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป

ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง


การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองมีที่มาดังนี้

  1. พิธีกรรมและความเชื่อของคนไทยในท้องถิ่น ที่มักประกอบพิธีกรรม บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงเกิดการฟ้อนรำขึ้น
  2. เกิดจากการละเล่นพื้นเมือง เนื่องจากคนในท้องถิ่นมีการละเล่นในงานเทศกาลต่าง ๆ จึงเกิดการร่ายรำเพื่อให้งานหรือเทศกาลนั้นมีความสนุกสนาน
  3. เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยและสร้างความบันเทิงใจให้กับคนในท้องถิ่น จึงเกิดการแสดงต่าง ๆ ขึ้น 
          การแสดงนาฏศิลป์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิง และใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น การฟ้อนผีมดผีเม็ง เป็นการฟ้อนรำเพื่อบูชาผีปู่ย่า ระบำตารีกีปัส เป็นการร่ายรำเพื่อเฉลิมฉลองใช้ในงานรื่นเริงต่าง ๆ

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง


นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ



วัฒนธรรมภาคเหนือ 


          วัฒนธรรมภาคเหนือ หรือวัฒนธรรมไทยล้านนา 


เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีคนไทยหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า และลาว วัฒนธรรมภาคเหนือ มีลักษณะดังนี้

          วัฒนธรรมทางสังคม

คนในภาคเหนือจะอยู่กันแบบครอบครัว รักสงบ มีนิสัยอ่อนโยน เป็นมิตร จึงได้ชื่อว่า ถิ่นไทยงาม

          วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย

คนในภาคเหนือนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบะใบตองตึง มีไม้กาแลที่แกะสลักลวดลายสวยงามไขว้ที่หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ

          วัฒนธรรมด้านภาษา

ภาคเหนือจะมีภาษาพูดและภาษาท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกันเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งมีลักษณะเสียงที่ไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน แต่อาจมีสำเนียงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น 

          วัฒนธรรมด้านอาหาร
ชาวล้านนานิยมรับประทานอาหารตามธรรมชาติอาจเป็นผักป่า ผักข้างรั้วต่าง ๆ และรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก รสชาติของอาหารจะมีรสเค็มนำแลเผ็ด นิยมแกงแบบน้ำขลุกขลิก ไม่ใช้กะทิเยอะเหมือนภาคกลางการจัดอาหารใส่ขันโตก อาหารภาคเหนือ เช่น แกงโฮะ แกงฮังเล แคบหมู น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง จิ๊นส้ม (แหนม)

          วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย




การแต่งกายของชาวเหนือจะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติและกลุ่มชน ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

ผู้หญิง  สวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มสไบทับและเกล้าผมสวมเครื่องประดับเงิน หรือทอง

ผู้ชาย  สวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนสวมกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า หรือผ้าโพกศีรษะ หรือสวมเสื้อม่อฮ่อม สวมกางเกงสามส่วน มีผ้าคาดเอว และสวมเครื่องประดับเงินทอง
          นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวเหนือแล้ว ภาคเหนือยังมีประเพณีที่สำคัญ และแสดงถึงวัฒนธรรมทางภาคเหนือ เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณียี่เป็ง ประเพณีบวชลูกแก้ว

ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ


          การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของหลายเชื้อชาติเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมของชาวเหนือทำให้ลักษณะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือมีความหลากหลาย ซึ่งวัฒนธรรมต่างๆ ยังส่งผลให้การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือส่วนใหญ่มีความอ่อนหวาน อ่อนช้อย เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนชมเดือน แต่มีบางการแสดงที่มีความสนุกสนาน คึกคัก เช่น การตีกลองสะบัดชัย บางการแสดงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ฟ้อนกิงกะหร่า ของชาวไทยใหญ่ ระบำเก็บใบชา ของชาวไทยภูเขา

          ลักษณะการแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง จะแต่งกายแบบวัฒนธรรมของชาวเหนือและเหมาะสมกับลักษณะของการแสดง

          ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกลองแอว วงสะล้อ ซอ ซึง วงกลองปู่เจ่

ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ


          ตีกลองสะบัดชัย          การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนา มีลีลาท่าทางโลดโผน 

          ลักษณะการแสดง จะตีกลองด้วยลีลาท่าทางต่าง ๆ ซึ่งกลองสะบัดชัยประกอบด้วยกลองสองหน้า ขนาดใหญ่ 1 ลูก กลองขนาดเล็กหรือเรียกว่า ลูกตุบ 2-3 ลูก ลักษณะการตีกลอง มีดังนี้

  • ตีเรียกคน เช่นมีการประชุมกัน ก็ตีเฉพาะกลองใหญ่ โดยตีจากจังหวะช้าและเร่งเร็วขึ้น
  • ตีบอกเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ไล่ขโมย จะตีเฉพาะกลองใหญ่ มีจังหวะเร่งเร็วติด ๆ กัน
  • ตีในงานบุญ จะตีทั้งกลองใหญ่และลูกตุบ มีจังหวะเร่งเร็วเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีคนใช้แส้ไม้ไผ่ที่เรียกว่า ไม้แสะ ฟาดหน้ากลองให้จังหวะ แต่ไม่มีฉาบและฆ้องประกอบ

          การตีลักษณะดังกล่าวเป็นการตีอยู่กับที่ ต่อมาเมื่อนำมาตีในขบวนต่าง ๆ จึงใช้จังหวะและทำนองล่องน่าน ผู้ตีกลองสะบัดชัยจะมีลีลาการตีต่าง ๆ โดยใช้อวัยวะ เช่น ศีรษะ ข้อศอก แต่จะไม่ให้อวัยวะเหล่านี้สัมผัสถูกหน้ากลองจริง ๆ เพราะถือว่ากลองเป็นของศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่นิยม มีการแข่งขันกัน มีท่าทางใหม่ ๆ เช่น การต่อตัว พ่นไฟ แปรขบวน จึงเป็นการแสดงที่เป็นมรดกและเอกลักษณ์ของภาคเหนือ

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ



วัฒนธรรมภาคเหนือ 


          วัฒนธรรมภาคเหนือ หรือวัฒนธรรมไทยล้านนา 


เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีคนไทยหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า และลาว วัฒนธรรมภาคเหนือ มีลักษณะดังนี้

          วัฒนธรรมทางสังคม

คนในภาคเหนือจะอยู่กันแบบครอบครัว รักสงบ มีนิสัยอ่อนโยน เป็นมิตร จึงได้ชื่อว่า ถิ่นไทยงาม

          วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย

คนในภาคเหนือนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบะใบตองตึง มีไม้กาแลที่แกะสลักลวดลายสวยงามไขว้ที่หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ

          วัฒนธรรมด้านภาษา

ภาคเหนือจะมีภาษาพูดและภาษาท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกันเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งมีลักษณะเสียงที่ไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน แต่อาจมีสำเนียงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น 

          วัฒนธรรมด้านอาหาร
ชาวล้านนานิยมรับประทานอาหารตามธรรมชาติอาจเป็นผักป่า ผักข้างรั้วต่าง ๆ และรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก รสชาติของอาหารจะมีรสเค็มนำแลเผ็ด นิยมแกงแบบน้ำขลุกขลิก ไม่ใช้กะทิเยอะเหมือนภาคกลางการจัดอาหารใส่ขันโตก อาหารภาคเหนือ เช่น แกงโฮะ แกงฮังเล แคบหมู น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง จิ๊นส้ม (แหนม)

          วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย




การแต่งกายของชาวเหนือจะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติและกลุ่มชน ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

ผู้หญิง  สวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มสไบทับและเกล้าผมสวมเครื่องประดับเงิน หรือทอง

ผู้ชาย  สวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนสวมกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า หรือผ้าโพกศีรษะ หรือสวมเสื้อม่อฮ่อม สวมกางเกงสามส่วน มีผ้าคาดเอว และสวมเครื่องประดับเงินทอง
          นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวเหนือแล้ว ภาคเหนือยังมีประเพณีที่สำคัญ และแสดงถึงวัฒนธรรมทางภาคเหนือ เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณียี่เป็ง ประเพณีบวชลูกแก้ว

ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ


          การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของหลายเชื้อชาติเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมของชาวเหนือทำให้ลักษณะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือมีความหลากหลาย ซึ่งวัฒนธรรมต่างๆ ยังส่งผลให้การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือส่วนใหญ่มีความอ่อนหวาน อ่อนช้อย เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนชมเดือน แต่มีบางการแสดงที่มีความสนุกสนาน คึกคัก เช่น การตีกลองสะบัดชัย บางการแสดงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ฟ้อนกิงกะหร่า ของชาวไทยใหญ่ ระบำเก็บใบชา ของชาวไทยภูเขา

          ลักษณะการแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง จะแต่งกายแบบวัฒนธรรมของชาวเหนือและเหมาะสมกับลักษณะของการแสดง

          ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกลองแอว วงสะล้อ ซอ ซึง วงกลองปู่เจ่

ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ


          ตีกลองสะบัดชัย          การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนา มีลีลาท่าทางโลดโผน 

          ลักษณะการแสดง จะตีกลองด้วยลีลาท่าทางต่าง ๆ ซึ่งกลองสะบัดชัยประกอบด้วยกลองสองหน้า ขนาดใหญ่ 1 ลูก กลองขนาดเล็กหรือเรียกว่า ลูกตุบ 2-3 ลูก ลักษณะการตีกลอง มีดังนี้

  • ตีเรียกคน เช่นมีการประชุมกัน ก็ตีเฉพาะกลองใหญ่ โดยตีจากจังหวะช้าและเร่งเร็วขึ้น
  • ตีบอกเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ไล่ขโมย จะตีเฉพาะกลองใหญ่ มีจังหวะเร่งเร็วติด ๆ กัน
  • ตีในงานบุญ จะตีทั้งกลองใหญ่และลูกตุบ มีจังหวะเร่งเร็วเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีคนใช้แส้ไม้ไผ่ที่เรียกว่า ไม้แสะ ฟาดหน้ากลองให้จังหวะ แต่ไม่มีฉาบและฆ้องประกอบ

          การตีลักษณะดังกล่าวเป็นการตีอยู่กับที่ ต่อมาเมื่อนำมาตีในขบวนต่าง ๆ จึงใช้จังหวะและทำนองล่องน่าน ผู้ตีกลองสะบัดชัยจะมีลีลาการตีต่าง ๆ โดยใช้อวัยวะ เช่น ศีรษะ ข้อศอก แต่จะไม่ให้อวัยวะเหล่านี้สัมผัสถูกหน้ากลองจริง ๆ เพราะถือว่ากลองเป็นของศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่นิยม มีการแข่งขันกัน มีท่าทางใหม่ ๆ เช่น การต่อตัว พ่นไฟ แปรขบวน จึงเป็นการแสดงที่เป็นมรดกและเอกลักษณ์ของภาคเหนือ

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้


นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้

วัฒนธรรมภาคใต้


ภาคใต้มีวัฒนธรรมที่หลากหลายและได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศมาเลเซีย จึงเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมภาคใต้มีลักษณะ ดังนี้

          วัฒนธรรมทางสังคม

ชาวภาคใต้มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักเพื่อนพ้อง มีน้ำใจ เข้มแข็ง ช่วยเหลือกัน อยู่กันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

          วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย

ลักษณะที่อยู่อาศัยของภาคใต้ จะมีการสร้างบ้านหรือเรียกว่า เรือน แบบเรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับและเรือนก่ออิฐฉาบปูน เอกลักษณ์ของบ้านจะอยู่ที่หลังคาเรือนและเสาเรือน โดยเสาไม้ตั้งบนคอนกรีต เพื่อให้มีโครงสร้างแข็งแรง ป้องกันลมฝนพายุ

          วัฒนธรรมด้านภาษา

ภาษาใต้หรือภาษาปักษ์ใต้ในแต่ละจังหวัดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไป และบางจังหวัดก็มีภาษายาวีด้วย เช่น จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา

          วัฒนธรรมด้านอาหาร

อาหารภาคใต้ส่วนใหญ่มีรสจัดและมีกลิ่นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นเพราะช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลเป็นหลัก อาหารใต้จึงมักมีสีเหลืองขมิ้น เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง คั่วกลิ้ง

          วัฒนธรรมด้านกายแต่งกาย 


การแต่งกายของชาวใต้ 

ผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นยาวคลุมถึงข้อเท้า มีลวดลาย เรียกว่า ผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ สวมเสื้อรัดรูปปล่อยชาย

ผู้ชาย จะนิยมนุ่งโสร่ง สวมเสื้อปล่อยชาย

นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวแล้ว ภาคใต้ยังมีประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจ การเคารพบูชาในสาสนา เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีชิงเปรต ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพรีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ จะแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของชาวใต้ เช่น ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง ลักษณะการแสดงมีจังหวะและทำนองที่คึกคัก สนุกสนานบางการแสดงอาจผสมผสานกับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซียด้วย ซึ่งการแสดงแต่ละการแสดง จะมีลักษณะรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันไป ใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ ที่สร้างความสนุกสนานให้คนในท้องถิ่น

ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ 




          ระบำปาเต๊ะ

ระบำปาเต๊ะ เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาจารย์ดรุณี สัจจากุล ภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูยะลา เมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนาน ถ่ายทอดวิถีชีวิตการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ของชาวใต้

          ลักษณะการแสดง เป็นการแสดงขั้นตอนการทำผ้าปาเต๊ะ โดยนำขั้นตอนการทำมาผสมผสานเป็นท่ารำ โดยเริ่มจากท่าแบกภาชนะใส่เทียนไปเคี่ยวไฟร้อน ท่าถือกรอบไม้ออกมาขึงผ้าเพื่อเขียนลวดลาย ท่าย้อมผ้า ท่านำผ้าที่ย้อมมาตาก และท้ายการแสดงทุกกลุ่มก็จะออกมาร่ายรำ ระบำกันอย่างสนุกสนาน และใช้ดนตรีพื้นเมืองบรรเลงประกอบการแสดง 



เพลงเราสู้


ประวัติเพลงเราสู้ และเนื้อเพลง

          "ผู้ใดก็ตามถ้าใช้กำลังต่อคนไทถ้ามาฉกฉวยความเป็นอิสระและความเป็นไทไปจากเขาหรือทำให้บ้านเมืองของเขามีความวิปริตและมีความแตกแยกกัน เทพยดา ฟ้าและดินจะลงโทษผู้นั้นและถ้าคนที่ทำเช่นนั้นเป็นคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทมีฟ้าและแผ่นดินไทปกป้องเขาอยู่ เขาจะได้ความอัปยศยิ่งนัก ขอให้ทุกคนรำลึกไว้เช่นนี้เถิด"จากหนังสือ "คนไททิ้งแผ่นดิน" เรียบเรียงโดย สัญญา ผลประสิทธิ์ได้รับรางวัลวรรณกรรมจาก มูลนิธิจอห์น เอฟ. เคนเนดี พ.ศ. 2516 ในปีเดียวกับที่หนังสือเรื่อง "คนไททิ้งแผ่นดิน" ได้รับรางวัลจากมูลนิธิจอห์น เอฟ. เคนเนดี ก็ได้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในประเทศไทย 


          และในปีเดียวกันนี้เอง ที่นายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์ กลอนสุภาพ "เราสู้" เป็นกลอน 4 บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ.2516 มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรแล้ว ก็ทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยให้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" 

          สมภพ จันทรประภา เป็นข้าราชบริพารในพระองค์ เป็นนิสิตเก่าของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้แต่งหนังสือ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ" พระประวัติของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 

          "เราสู้" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจากคำร้องเป็นเพลงที่ 2 ต่อจากเพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" และคำร้องนี้คือ พระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติและคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย ข้าราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ ซึ่งได้จัดแข่งขันฟุตบอลการกุศล และเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมา นายสมภพ จันทรประภา ได้ขอพระราชทานพระราชดำรัสนี้มาประพันธ์เป็นกลอนถวาย และได้พระราชทานเป็นของขวัญปีใหม่ แก่ทหาร อาสาสมัคร และตำรวจชายแดน 

          ตอนที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเสร็จใหม่ๆ ได้พระราชทานให้ ม.ล.อัศนี ปราโมช เรียบเรียงและโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ บรรเลงก่อน ภายหลังจากที่ วง อ.ส. วันศุกร์ ได้เล่นเพลงนี้แล้ว ได้ทรงนำกลับไปแก้ไขและเรียบเรียงขึ้นใหม่ก่อนจะพระราชทานออกมาใหม่ เพลงรุ่นหลังๆ นี้มีพระราชประสงค์ให้นักดนตรีทุกคนมีส่วนเข้ามาช่วยกันแสดงความคิดเห็นปรับปรุงแก้ไขทำนอง มีพระราชดำรัสว่า การแต่งแบบนี้เรียกว่า "การแต่งแบบสหกรณ์" 

          เกร็ดความรู้ในการพระราชนิพนธ์เพลงนี้ นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เล่าว่า           "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเหมือนนักประพันธ์เพลง หรือปราชญ์ของโลก คือแต่งสดๆ เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยขึ้นมา เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" ทรงขีดเส้นโน้ตห้าเส้นบนซองจดหมาย แล้วทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงออกมาโดยฉับพลัน" 

          เพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" นับเป็นอีกเพลงหนึ่งที่ได้เดินทางผ่านกาลเวลามาหลายยุคหลายบทบาทในทางการเมืองของไทย เคยได้ชื่อว่าเป็นเพลงปลุกใจของฝ่ายอนุรักษนิยมขวาจัดมาในยุคหนึ่ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ วันที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับการฟันฝ่าวิกฤติความขัดแย้งภายในประเทศบนสังคมออนไลน์ยุคใหม่ในขณะที่กำลังเดินเข้าสู่ประตูของประชาคมอาเซียน ซึ่งสังคมไทยจะต้องต่อสู้กับการแข่งขันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และความคิดสร้างสรรค์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และวรรณกรรม 

          ครั้งนี้ เพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" อาจเปลี่ยนบทบาทมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักต่อสู้บนเวทีการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ของเรา ให้คนในสังคมไทยยุคใหม่หันมาร่วมใจกันเพื่อฝ่าฟันวิกฤติของประเทศไปให้ได้.



เพลง เราสู้ 

ทำนอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช 

คำร้อง นายสมภพ จันทรประภา 

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ 

ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า 

เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา 

หน้าที่เรารักษาสืบไป 

ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า 

จะได้มีพสุธาอาศัย 

อนาคตจะต้องมีประเทศไทย 

มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย 

ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น 

จะสู้กันไม่หลบหนีหาย 

สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย 

ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู 

บ้านเมืองเราเราต้องรักษา 

อยากทำลายเชิญมาเราสู้ 

เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู 

เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว 



การบูรณาการในงานนาฏศิลป์


การบูรณาการในงานนาฏศิลป์

          ในเรื่องของการเชื่อมโยงความรู้ เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ โดยใช้ทักษะการคิด วิเคราะห์ เช่น เมื่อนักเรียนชมชุดการแสดงนาฏศิลป์หรือในการชมการแสดงละครไทย นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง นอกจากความบันเทิง หรือเมื่อนักเรียนได้ฝึกหัดนาฏศิลป์ นักเรียนได้ประโยชน์และได้รับความรู้ในเรื่องใด ที่เกี่ยวกับรายวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เช่น 



1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 

          นักเรียนที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ จะต้องรู้จักสังเกต การกำหนดจังหวะ ของบทเพลงที่ฝึกหัดการกำหนดแถว การเว้นระยะระหว่างแถว การคำนวณ พื้นที่บนเวที เพื่อความเหมาะสมสวยงาม ให้จัดฉากละคร การกำหนดจุดยืนของผู้แสดง หรือแม้แต่การคำนวณเรื่องการจัดต้นทุน รายรับ รายจ่าย ในการจัดการแสดง จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้เรื่องนาฏศิลป์และการละคร จะต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาร่วมด้วย เพื่อความสมบูรณ์แบบในการนำเสนอ

2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          เนื้อหาของรายวิชาภาษาไทย ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับภา และวรรณคดี เช่นเดียวกับวิชานาฏศิลป์ และการละครที่ได้นำ วรรณคดีไทย  และการ แต่งบทร้อยกรอง มาประกอบการเรียนทั้งนาฏศิลป์และละครไทย การเรียนรู้วรรณคดีผ่านการแสดงนาฏศิลป์ และการละครนั้นนักเรียนจะได้รับ อรรถรสและสุนทรียภาพที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเรียนรู้ศาสตร์ทั้งสองอย่างไปด้วยกัน 


3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
          การเรียนรู้เรื่อง แสง สี เสียง จากเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการแสดงนาฏศิลป์และการละคร เพราะอิทธิพลของแสง จะทำให้เกิดภาพที่มีสีสันที่สวยงาม ของเครื่องแต่งกายและการแต่งหน้าของผู้แสดง ตลอดจนเทคนิคของเสียงที่เหมาะสม ก็ช่วยส่งเสริมให้การแสดงมีความสมจริง เป็นการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราว เนื้อหา ที่สื่อผ่านผู้แสดงไปยังผู้ชม ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญ ที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้สอดคล้องกัน

4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
          4.1 สาระศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม เป็นวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทย จึงมีการแสดงนาฏศิลป์เพื่อสื่อถึงความสำคัญของศาสนา การบูชา พระรัตนตรัย เช่น ระบำไตรรัตน์ รำแม่ศรีไตรสิกขา เป็นต้น
          4.2 สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม การแสดงนากศิลป์ส่วนใหญ่จะสะท้อน ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ในสังคมจะเห็นได้ชัดเจน เช่น ฟ้อนสาวไหม แสดงวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองเหนือด้วยการ ทอผ้าไหมไทย การรำผีฟ้า เป็นการรำเพื่อรักษาโรค ของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเล่นเพลงเรือในประเพณีงานบุญ เป็นต้น
          4.3 สาระประวัติศาสตร์ การเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ผ่านชุดการแสดงนากศิลป์ไทยมีอยู่มากมายหลายชุดการแสดง เช่น ละคร อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง” ละครเรื่องนางเสือง การแสดงชุด ชุมนุมเผ่าไทย ซึ่งการแสดงมีการถ่ายทอดสาระ ความเป็นมาของบุคคลสำคัญในชาติ การเสียสละ เลือดเนื้อเพื่อแผ่นดินของบรรพบุรุษไทย ในการรักษาแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน เป็นต้น
          4.4 สาระภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศในส่วนต่างๆของประเทศไทย เราสามารถเรียนรู้ผ่านชุดการแสดงนาฏศิลป์จากการสังเกตการแต่งกาย ของชุดการแสดงที่บ่งบอกลักษณะ ทางกายภาพได้ เช่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อน ชุดการแสดงของเซิ้ง จะนุ่งผ้าซิ่น ยาวแค่เข่า แสดงให้เห็นว่ามีอากาศร้อน ทางภาคเหนือผู้แสดง จะนุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้า เนื่องมาจากทางภาคเหนือมีอากาศค่อนข้างเย็น ดังนี้ เป็นต้น

5. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          การเย็บปักถักร้อย งานผ้า งานออกแบบ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เคล็ดไม่ลับได้จากเสื้อผ้าของชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่มีความสวยงาม คงทนและการตัดเย็บที่ยืดหยุ่นไม่ตายตัว สามารถใช้ได้ยาวนาน เทคนิคการเก็บรักษาหลังการใช้ การนุ่งผ้าแบบต่างๆ จากผ้าผืนเดียวเป็นต้นแบบของ ดีไซน์เนอร์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ นอกจากนี้ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ก็มีความสำคัญ ที่ช่วยทำให้งานออกแบบชุดการแสดง การออกแบบเวที ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 



6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
          ประโยชน์ของการเรียนนาฏศิลป์ไทยที่สำคัญมีอยู่อย่างหนึ่งคือ การร่ายรำที่ทำให้ได้ออกกำลังกาย เป็นการออกกำลังกายที่มีความสวยงาม ทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหว การยกเท้า การกระดกเท้า การกรายมือ การตั้งวงร่ายรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย  เคลื่อนที่ไป ถ้าฝึกปฏิบัติเป็นประจำ และรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเว้นจากสุรา ยาเสพติดทุกประเภทร่วมด้วย จะทำให้ผู้เรียนนากศิลป์ มีร่างกายและ สุขภาพที่แข็งแรง มีการทรงตัวที่ดี มีบุคลิกลักษณะที่สง่างาม ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าวิชานาฏศิลป์ ส่งเสริมด้านสุขภาพและพลานามัย เป็นอย่างดี มีความสอดคล้องในด้านการปฏิบัติ 

7. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
          ในโอกาสที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะภาษากลางคือภาษาอังกฤษ ผู้เรียนนาฏศิลป์ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษและศึกษาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการแสดง นาฏศิลป์ไทย เช่น Drama, Dance , Folk-Dance เป็นต้น ซึ่งที่จะสามารถนำมาใช้ในการอธิบายชุดการแสดง ระหว่างผู้ชมที่เป็นชาวต่างชาติ ทำให้ชาวต่างชาติ มีความเข้าใจในการแสดงมากยิ่งขึ้น 


8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะแบ่งเป็น 3 สาระการเรียนรู้ ดนตรี-นาฏศิลป์ และทัศนศิลป์ จะเห็นได้ว่าศิลปะทั้ง 3 สาระ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ เชื่อมโยง จนไม่สามารถที่จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปได้ นากศิลป์จึงมีความสมบูรณ์ หมายความว่า นาฏศิลป์ต้องเกี่ยวข้องกับทั้งสองสาระการเรียนรู้ คือ ดนตรี และทัศนศิลป์ จึงจะเห็นสุนทรียภาพที่สวยงาม ฉาก แสงสี ที่ตระการตา เป็นเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์


นาฏศิลป์

ความหมาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า


          “ นาฏศิลป์ ” ไว้ว่า “ เป็นศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ ” นอกจากนี้ ยังมีนักการศึกษา และท่านผู้รู้ได้ให้นิยามความหมายของนาฏศิลป์แตกต่างกันออกไป ดังนี้


1. ความช่ำชองในการละครและฟ้อนรำ


2. ศิลปะการละครหรือการฟ้อนรำของไทย


3. การร้องรำทำเพลง เพื่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ


4. การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยการเลียนแบบท่าธรรมชาติด้วยความประณีตลึกซึ้ง


5. ศิลปะการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความงามอย่างมีแบบแผน


          นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง


          การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์


          นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป


          จากความหมาย และนิยามดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า นาฏศิลป์มีความเกี่ยวข้องกับศิลปะด้านการละคร การฟ้อนรำ การเคลื่อนไหวอิริยาบถต่าง ๆ ทั้งมือ แขน ขา ลำตัว และใบหน้าเพื่อถ่ายทอดความหมาย และอารมณ์ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์และมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ที่มา



          สันนิษฐานว่านาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาพร้อม ๆ กับชนชาติไทย ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาฏศิลป์ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย คติ และความเชื่อของคนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่า นาฏศิลป์ไทยน่าจะมีที่มาจาก 4 แหล่ง ดังนี้


1. จากการเลียนแบบธรรมชาติ


2.จากการละเล่นของชาวบ้าน


3. จากการแสดงที่เป็นแบบแผน


4. จากการรับอารยธรรมของอินเดีย



1. จากการละเล่นของชาวบ้านในท้องถิ่น

          หลังจากเสร็จสิ้นจากภารกิจ ในแต่ละวันชาวบ้านก็หาเวลาว่างมาร่วมกัน ร้องรำ ทำเพลง โดยมีการนำเอาดนตรีมาประกอบด้วย และตามนิสัยของคนไทยที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนชอบร้องเพลงโต้ตอบระหว่างชายกับหญิงจนเกิดเป็นพ่อเพลง แม่เพลงขึ้นโดยจะมีลูกคู่ คอยร้องรับกันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครงทั้งนี้อาจจะเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง เพื่อให้ลืมความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในแต่ละวัน

2. จากการแสดงที่เป็นแบบแผน 

          เป็นที่ทราบกันดีว่า นาฏศิลป์ไทยที่เป็นมาตรฐานจะได้รับการปลูกฝัง และถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยในวังหลวง ที่ฝึกให้แก่ผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในวังเป็นนักแสดงโขน และละคร เพื่อใช้การแสดงในโอกาสต่าง ๆ และจากการที่นาฏศิลป์ไทยบางส่วนได้รับการถ่ายทอดมาจากวังหลวงนี้เอง ทำให้ทราบว่านาฏศิลป์ไทยมีที่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เพราะได้มีการจารึกไว้ในหลักศิลาจารึกหลักที่ 8 ว่า “ ระบำ รำ เต้น เล่น ทุกฉัน” ซึ่งศิลปะการฟ้อนรำก็ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันเรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้มีการนำศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นแบบแผนมาสู่ระบบการศึกษา ซึ่งบรรจุอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียนนาฏศิลป์หรือวิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน



3.จากการรับอารยธรรมของอินเดีย

          ประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีอารยธรรมเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณกาล โดยเฉพาะการละครในอินเดียรุ่งเรืองมาก ประกอบกับชนชาติอินเดียนับถือ และเชื่อมั่นในศาสนา พระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ พระผู้เป็นเจ้าที่ชาวอินเดีย ได้แก่ พระศิวะ(พระอิศวร) พระวิษณุ และพระพรหม ในบางยุคของชาวอินเดียถือว่าพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพนับถือมาก ยุคนี้ถือว่าพระอิศวรทรงเป็นนาฏราช (ราชาแห่งการร่ายรำ) มีประวัติทั้งในสวรรค์และในเมืองมนุษย์ในการร่ายรำของพระอิศวรแต่ละครั้งพระองค์ทรงให้พระภรตฤาษีเป็นผู้บันทึกท่ารำ แล้วนำมาสั่งสอนแก่เหล่ามนุษย์จนเป็นที่มาของตำนานการฟ้อนรำ

4.จากการเลียนแบบธรรมชาติ 

          กิริยาท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์จะบ่งบอกความหมายและสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ควบคู่ไปกับการพูด ในการฟ้อนรำจะช่วยให้ท่ารำสื่อความหมายกับผู้ชมเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าการแสดงบางชุดจะไม่มีเนื้อร้อง แต่มีทำนองเพลงเพียงอย่างเดียว นักแสดงก็จะฟ้อนรำไปตามทำนองเพลงนั้น ๆ ด้วยลีล่าท่ารำต่าง ๆ ลีลาท่ารำเหล่านี้ก็เป็นท่าทางธรรมชาติที่ใช้สื่อความหมาย ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการให้ผู้ชมเข้าใจความหมายในการรำ และใช้ท่ารำในการดำเนินเรื่องด้วย
ถึงแม้ว่าท่ารำส่วนใหญ่จะมีลีลาที่วิจิตรสวยงาม กว่าท่าทางธรรมชาติไปบ้างแต่ก็ยังคงใช้ท่าทางธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการประดิษฐ์ท่ารำ และเลือกใช้ได้เหมาะสมบ่งบอกความหมายได้ถูกต้อง เช่น หากต้องการบ่งบอกถึงบุคคลอื่นก็จะชี้ไป เป็นต้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่ารำเกิดจากการเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ

องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

          ดังที่กล่าวมาแล้วว่า นาฏศิลป์ได้หมายรวมไปถึงการร้องรำทำเพลง ดังนั้นองค์ประกอบของนาฏศิลป์ก็จะประกอบไปด้วยการขับร้อง การบรรเลงดนตรี และการฟ้อนรำ ทั้งนี้เพราะ การแสดงออกของนาฏศิลป์ไทยจะต้องอาศัยบทร้อง ทำเพลงประกอบการแสดง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะมาเป็นนาฏศิลป์ไทยได้จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ 



          1. การฟ้อนรำ 

เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านั้น ให้ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาท และลักษะของตัวละคร ประเภทของการแสดง และการสื่อความหมายที่ชัดเจน

          2 .จังหวะ 

เป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัดเพราะจังหวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้วก็สามารถรำได้สวยงาม แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่า “ บอดจังหวะ” การรำก็จะ ไม่สวยงามและไม่ถูกต้อง

          3. เนื้อร้องและทำนองเพลง

การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถ สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจตรงกันได้ เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก ใบหน้ายิ้มละไม สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น

          4. การแต่งกาย

ในการแสดงนาฏศิลป์ สามารถบ่งบอกถึงยศ และบรรดาศักดิ์ของนักแสดงละครตัวนั้น ๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร เช่น เมื่อแสดงเป็นหนุมาน นักแสดงจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาวมีลายปักเป็นลายทักษิณาวัตร สวมหัวโขนลิงสีขาว ปากอ้า เป็นต้น

          5. การแต่งหน้า

เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้นักแสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องบนใบหน้าของนักแสดงได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้า เพื่อบอกวัยบอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น แต่งหน้านักแสดงหนุ่มให้เป็นคนแก่ แต่งหน้าให้นักแสดงเป็นตัวตลก เป็นต้น

          6. เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง

การแสดงนาฏศิลป์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงดังนั้นนักแสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง ในขณะเดียวกันดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ และสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย

          7. อุปกรณ์การแสดงละคร
การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุด อาจต้องมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงละครด้วย เช่น ระบำพัด ระบำนกเขา ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนร่ม เป็นต้น อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ประกอบการแสดงจะต้องมีความสมบูรณ์ สวยงาม และสวมใส่ได้พอดี หากเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้ประกอบการแสดง เช่น กลอง ร่ม เป็นต้น นักแสดงจะต้องมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่วสามารถจัดวางตำแหน่งให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องสวยงาม