นาฏศิลป์พื้นเมือง


นาฏศิลป์พื้นเมือง

ความหมายของนาฏศิลป์พื้นเมือง

          นาฏศิลป์พื้นเมือง หมายถึง ศิลปะการแสดงร่ายรำประกอบดนตรี ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อนต่าง ๆ ที่นิยมเล่นกัน หรือ แสดงกันในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะสภาพแวดล้อม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา อุปนิสัย และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป

ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง


การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองมีที่มาดังนี้

  1. พิธีกรรมและความเชื่อของคนไทยในท้องถิ่น ที่มักประกอบพิธีกรรม บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงเกิดการฟ้อนรำขึ้น
  2. เกิดจากการละเล่นพื้นเมือง เนื่องจากคนในท้องถิ่นมีการละเล่นในงานเทศกาลต่าง ๆ จึงเกิดการร่ายรำเพื่อให้งานหรือเทศกาลนั้นมีความสนุกสนาน
  3. เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยและสร้างความบันเทิงใจให้กับคนในท้องถิ่น จึงเกิดการแสดงต่าง ๆ ขึ้น 
          การแสดงนาฏศิลป์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิง และใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น การฟ้อนผีมดผีเม็ง เป็นการฟ้อนรำเพื่อบูชาผีปู่ย่า ระบำตารีกีปัส เป็นการร่ายรำเพื่อเฉลิมฉลองใช้ในงานรื่นเริงต่าง ๆ

3 ความคิดเห็น: