นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
วัฒนธรรมภาคใต้
วัฒนธรรมทางสังคม
ชาวภาคใต้มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักเพื่อนพ้อง มีน้ำใจ เข้มแข็ง ช่วยเหลือกัน อยู่กันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย
วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย
ลักษณะที่อยู่อาศัยของภาคใต้ จะมีการสร้างบ้านหรือเรียกว่า เรือน แบบเรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับและเรือนก่ออิฐฉาบปูน เอกลักษณ์ของบ้านจะอยู่ที่หลังคาเรือนและเสาเรือน โดยเสาไม้ตั้งบนคอนกรีต เพื่อให้มีโครงสร้างแข็งแรง ป้องกันลมฝนพายุ
วัฒนธรรมด้านภาษา
วัฒนธรรมด้านภาษา
ภาษาใต้หรือภาษาปักษ์ใต้ในแต่ละจังหวัดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไป และบางจังหวัดก็มีภาษายาวีด้วย เช่น จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา
วัฒนธรรมด้านอาหาร
วัฒนธรรมด้านอาหาร
อาหารภาคใต้ส่วนใหญ่มีรสจัดและมีกลิ่นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นเพราะช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลเป็นหลัก อาหารใต้จึงมักมีสีเหลืองขมิ้น เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง คั่วกลิ้ง
วัฒนธรรมด้านกายแต่งกาย
วัฒนธรรมด้านกายแต่งกาย
การแต่งกายของชาวใต้
ผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นยาวคลุมถึงข้อเท้า มีลวดลาย เรียกว่า ผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ สวมเสื้อรัดรูปปล่อยชาย
ผู้ชาย จะนิยมนุ่งโสร่ง สวมเสื้อปล่อยชาย
นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวแล้ว ภาคใต้ยังมีประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจ การเคารพบูชาในสาสนา เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีชิงเปรต ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพรีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ จะแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของชาวใต้ เช่น ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง ลักษณะการแสดงมีจังหวะและทำนองที่คึกคัก สนุกสนานบางการแสดงอาจผสมผสานกับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซียด้วย ซึ่งการแสดงแต่ละการแสดง จะมีลักษณะรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันไป ใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ ที่สร้างความสนุกสนานให้คนในท้องถิ่น
ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวแล้ว ภาคใต้ยังมีประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจ การเคารพบูชาในสาสนา เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีชิงเปรต ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพรีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ จะแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของชาวใต้ เช่น ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง ลักษณะการแสดงมีจังหวะและทำนองที่คึกคัก สนุกสนานบางการแสดงอาจผสมผสานกับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซียด้วย ซึ่งการแสดงแต่ละการแสดง จะมีลักษณะรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันไป ใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ ที่สร้างความสนุกสนานให้คนในท้องถิ่น
ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
ระบำปาเต๊ะ เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาจารย์ดรุณี สัจจากุล ภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูยะลา เมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนาน ถ่ายทอดวิถีชีวิตการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ของชาวใต้
ลักษณะการแสดง เป็นการแสดงขั้นตอนการทำผ้าปาเต๊ะ โดยนำขั้นตอนการทำมาผสมผสานเป็นท่ารำ โดยเริ่มจากท่าแบกภาชนะใส่เทียนไปเคี่ยวไฟร้อน ท่าถือกรอบไม้ออกมาขึงผ้าเพื่อเขียนลวดลาย ท่าย้อมผ้า ท่านำผ้าที่ย้อมมาตาก และท้ายการแสดงทุกกลุ่มก็จะออกมาร่ายรำ ระบำกันอย่างสนุกสนาน และใช้ดนตรีพื้นเมืองบรรเลงประกอบการแสดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น