เพลงเราสู้


ประวัติเพลงเราสู้ และเนื้อเพลง

          "ผู้ใดก็ตามถ้าใช้กำลังต่อคนไทถ้ามาฉกฉวยความเป็นอิสระและความเป็นไทไปจากเขาหรือทำให้บ้านเมืองของเขามีความวิปริตและมีความแตกแยกกัน เทพยดา ฟ้าและดินจะลงโทษผู้นั้นและถ้าคนที่ทำเช่นนั้นเป็นคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทมีฟ้าและแผ่นดินไทปกป้องเขาอยู่ เขาจะได้ความอัปยศยิ่งนัก ขอให้ทุกคนรำลึกไว้เช่นนี้เถิด"จากหนังสือ "คนไททิ้งแผ่นดิน" เรียบเรียงโดย สัญญา ผลประสิทธิ์ได้รับรางวัลวรรณกรรมจาก มูลนิธิจอห์น เอฟ. เคนเนดี พ.ศ. 2516 ในปีเดียวกับที่หนังสือเรื่อง "คนไททิ้งแผ่นดิน" ได้รับรางวัลจากมูลนิธิจอห์น เอฟ. เคนเนดี ก็ได้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในประเทศไทย 


          และในปีเดียวกันนี้เอง ที่นายสมภพ จันทรประภา ได้ประพันธ์ กลอนสุภาพ "เราสู้" เป็นกลอน 4 บท จากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ.2516 มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรแล้ว ก็ทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยให้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" 

          สมภพ จันทรประภา เป็นข้าราชบริพารในพระองค์ เป็นนิสิตเก่าของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้แต่งหนังสือ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ" พระประวัติของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 

          "เราสู้" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจากคำร้องเป็นเพลงที่ 2 ต่อจากเพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" และคำร้องนี้คือ พระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติและคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย ข้าราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ ซึ่งได้จัดแข่งขันฟุตบอลการกุศล และเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมา นายสมภพ จันทรประภา ได้ขอพระราชทานพระราชดำรัสนี้มาประพันธ์เป็นกลอนถวาย และได้พระราชทานเป็นของขวัญปีใหม่ แก่ทหาร อาสาสมัคร และตำรวจชายแดน 

          ตอนที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเสร็จใหม่ๆ ได้พระราชทานให้ ม.ล.อัศนี ปราโมช เรียบเรียงและโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ บรรเลงก่อน ภายหลังจากที่ วง อ.ส. วันศุกร์ ได้เล่นเพลงนี้แล้ว ได้ทรงนำกลับไปแก้ไขและเรียบเรียงขึ้นใหม่ก่อนจะพระราชทานออกมาใหม่ เพลงรุ่นหลังๆ นี้มีพระราชประสงค์ให้นักดนตรีทุกคนมีส่วนเข้ามาช่วยกันแสดงความคิดเห็นปรับปรุงแก้ไขทำนอง มีพระราชดำรัสว่า การแต่งแบบนี้เรียกว่า "การแต่งแบบสหกรณ์" 

          เกร็ดความรู้ในการพระราชนิพนธ์เพลงนี้ นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เล่าว่า           "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเหมือนนักประพันธ์เพลง หรือปราชญ์ของโลก คือแต่งสดๆ เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยขึ้นมา เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" ทรงขีดเส้นโน้ตห้าเส้นบนซองจดหมาย แล้วทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงออกมาโดยฉับพลัน" 

          เพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" นับเป็นอีกเพลงหนึ่งที่ได้เดินทางผ่านกาลเวลามาหลายยุคหลายบทบาทในทางการเมืองของไทย เคยได้ชื่อว่าเป็นเพลงปลุกใจของฝ่ายอนุรักษนิยมขวาจัดมาในยุคหนึ่ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ วันที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับการฟันฝ่าวิกฤติความขัดแย้งภายในประเทศบนสังคมออนไลน์ยุคใหม่ในขณะที่กำลังเดินเข้าสู่ประตูของประชาคมอาเซียน ซึ่งสังคมไทยจะต้องต่อสู้กับการแข่งขันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และความคิดสร้างสรรค์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และวรรณกรรม 

          ครั้งนี้ เพลงพระราชนิพนธ์ "เราสู้" อาจเปลี่ยนบทบาทมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักต่อสู้บนเวทีการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ของเรา ให้คนในสังคมไทยยุคใหม่หันมาร่วมใจกันเพื่อฝ่าฟันวิกฤติของประเทศไปให้ได้.



เพลง เราสู้ 

ทำนอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช 

คำร้อง นายสมภพ จันทรประภา 

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ 

ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า 

เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา 

หน้าที่เรารักษาสืบไป 

ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า 

จะได้มีพสุธาอาศัย 

อนาคตจะต้องมีประเทศไทย 

มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย 

ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น 

จะสู้กันไม่หลบหนีหาย 

สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย 

ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู 

บ้านเมืองเราเราต้องรักษา 

อยากทำลายเชิญมาเราสู้ 

เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู 

เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว 



3 ความคิดเห็น:

  1. คำร้อง นายสมภพ จันทรประภา

    บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ

    ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า

    เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา

    หน้าที่เรารักษาสืบไป

    ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า

    จะได้มีพสุธาอาศัย

    อนาคตจะต้องมีประเทศไทย

    มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย

    ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น

    จะสู้กันไม่หลบหนีหาย

    สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย

    ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู

    บ้านเมืองเราเราต้องรักษา

    อยากทำลายเชิญมาเราสู้

    เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู

    เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว




    ไม่มีความคิดเห็น:
    แสดงความคิดเห็น

    บทความใหม่กว่าบทความที่เก่ากว่าหน้าแรก
    สมัครสมาชิก: ส่งความคิดเห็น (Atom)
    หน้าแรก
    นาฏศิลป์พื้นเมือง
    นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ
    นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง
    นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
    จัดทำโดย
    ด.ช.ชิษณุพงษ์ ชมท่าไม้ เลขที่ 2

    ด.ช.ภัทรดนัย คงมาก เลขที่ 4

    ด.ช.ภีมสนันต์ โรจนไพบูลย์ เลขที่ 5

    ด.ช.วิชชากร มีนะโยธิน เลขที่ 6

    ด.ญ.จิรัฐิพร อยู่สวน เลขที่ 9

    ด.ญ.พรรวี วิจิตรโรทัย เลขที่ 24

    ด.ญ.ยวิษฐนันท์ ขันติวงศ์ เลขที่ 30

    ด.ญ.วรรษชล ลาวัง เลขที่ 35

    ด.ญ.วรวลัญช์ โล่สกุล เลขที่ 36

    ด.ญ.วสุรัตน์ อุทัยรัตน์ เลขที่ 37


    บางเบา ธีม. รูปภาพ

    ตอบลบ
  2. อยากรู้ขอคิดเพลงนี

    ตอบลบ
  3. ⠄⠄⠄⢰⣧⣼⣯⠄⣸⣠⣶⣶⣦⣾⠄⠄⠄⠄⡀⠄⢀⣿⣿⠄⠄⠄⢸⡇⠄⠄
    ⠄⠄⠄⣾⣿⠿⠿⠶⠿⢿⣿⣿⣿⣿⣦⣤⣄⢀⡅⢠⣾⣛⡉⠄⠄⠄⠸⢀⣿⠄
    ⠄⠄⢀⡋⣡⣴⣶⣶⡀⠄⠄⠙⢿⣿⣿⣿⣿⣿⣴⣿⣿⣿⢃⣤⣄⣀⣥⣿⣿⠄
    ⠄⠄⢸⣇⠻⣿⣿⣿⣧⣀⢀⣠⡌⢻⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠿⠿⠿⣿⣿⣿⠄
    ⠄⢀⢸⣿⣷⣤⣤⣤⣬⣙⣛⢿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡿⣿⣿⡍⠄⠄⢀⣤⣄⠉⠋⣰
    ⠄⣼⣖⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⢿⣿⣿⣿⣿⣿⢇⣿⣿⡷⠶⠶⢿⣿⣿⠇⢀⣤
    ⠘⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣽⣿⣿⣿⡇⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣷⣶⣥⣴⣿⡗
    ⢀⠈⢿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡟⠄
    ⢸⣿⣦⣌⣛⣻⣿⣿⣧⠙⠛⠛⡭⠅⠒⠦⠭⣭⡻⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡿⠃⠄
    ⠘⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡆⠄⠄⠄⠄⠄⠄⠄⠄⠹⠈⢋⣽⣿⣿⣿⣿⣵⣾⠃⠄
    ⠄⠘⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠄⣴⣿⣶⣄⠄⣴⣶⠄⢀⣾⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠃⠄⠄
    ⠄⠄⠈⠻⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡄⢻⣿⣿⣿⠄⣿⣿⡀⣾⣿⣿⣿⣿⣛⠛⠁⠄⠄⠄
    ⠄⠄⠄⠄⠈⠛⢿⣿⣿⣿⠁⠞⢿⣿⣿⡄⢿⣿⡇⣸⣿⣿⠿⠛⠁⠄⠄⠄⠄⠄
    ⠄⠄⠄⠄⠄⠄⠄⠉⠻⣿⣿⣾⣦⡙⠻⣷⣾⣿⠃⠿⠋⠁⠄⠄⠄⠄⠄⢀⣠⣴
    ⣿⣿⣿⣶⣶⣮⣥⣒⠲⢮⣝⡿⣿⣿⡆⣿⡿⠃⠄⠄⠄⠄⠄⠄⠄⣠⣴⣿⣿⣿

    ตอบลบ